อิทธิบาท 4 หมายถึง ทางดำเนินไปสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เว็ปติวฟรีได้รวบรวมสรุปอิทธิบาท 4 พร้อมความหมายของแต่ละประการมาไว้ที่นี่แล้ว เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เรียนรู้พระธรรมอย่างถ่องแท้
อิทธิบาท 4
อิทธิบาท หรือ อิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนา หมายถึง ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จ หรือ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณเครื่องสำเร็จสมประสงค์ ทางแห่งความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย อิทธิบาท 4 ประกอบด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา
อิทธิบาท 4 คือทางดำเนินไปสู่ความสำเร็จ
คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น 4 ประการคือ
ฉันทะ | หมายถึง ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น เช่น นักเรียนที่สนใจในวิชาคณิตศาสตร์จะมีฉันทะในการทำโจทย์คณิตศาสตร์ |
วิริยะ | หมายถึง ความเพียรในสิ่งนั้น เช่น นักกีฬาที่ฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่จะชนะการแข่งขัน |
จิตตะ | หมายถึง ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น เช่น ศิลปินที่ตั้งใจวาดภาพจนเสร็จสมบูรณ์ |
วิมังสา | หมายถึง ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น เช่น นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการทดลองเพื่อค้นหาความจริง |
อิทธิบาท 4 คือทางดำเนินไปสู่ความสำเร็จ
อิทธิบาท หรือ อิทธิบาท 4 เป็นคำศัพท์ในพระพุทธศาสนา หมายถึง ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จ หรือ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณเครื่องสำเร็จสมประสงค์ ทางแห่งความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย
1. ฉันทะ
ฉันทะ หมายถึง ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป
ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ
การฝึกฉันทะ อาจทำได้โดยการทำสมาธิเพื่อเจริญสติ กำหนดจิตให้จดจ่ออยู่กับสิ่งที่ตนต้องการจะประสบความสำเร็จ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้มีการความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ อิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ ว่าฉันรึยังของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้อง หลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉัน นั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรม จิตใจให้สว่างอยู่
2. วิริยะ
วิริยะ หมายถึง ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย
วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง
การฝึกวิริยะ อาจทำได้โดยการตั้งเป้าหมายและกำหนดความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิถานะยะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป … ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้ สว่างอยู่
3. จิตตะ
จิตตะ หมายถึง ความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่
จิตตะ คือ ความคิด คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป
การฝึกจิตตะ อาจทำได้โดยการฝึกสมาธิเพื่อเจริญสติ กำหนดจิตให้จดจ่ออยู่กับสิ่งที่ตนกำลังทำ
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า จิตของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป … ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่
4. วิมังสา
วิมังสา หมายถึง ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง ความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่
วิมังสา คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น
การฝึกวิมังสา อาจทำได้โดยการฝึกคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรองถึงเหตุและผลของสิ่งที่ตนทำ
ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไป ภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉัน นั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมี ใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่
ประโยชน์ของอิทธิบาท 4
การปฏิบัติอิทธิบาท 4 อย่างสม่ำเสมอจะส่งผลดีต่อชีวิตของเราในหลายด้าน ดังนี้
- พัฒนาสมาธิจิตใจ: การฝึกจิตให้จดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ช่วยให้จิตใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน และมีสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ
- เสริมสร้างความเพียรพยายาม: การฝึกฝนตนเองให้มีความเพียรพยายาม ช่วยให้เราสามารถเอาชนะอุปสรรคและประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตั้งใจ
- พัฒนาปัญญา: การศึกษาหาความรู้และฝึกฝนปัญญา ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง และสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง
- เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน: การมีสมาธิและความเพียรพยายาม ช่วยให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี: การมีจิตใจที่สงบและปัญญา ช่วยให้เราสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
- รับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น: การมีจิตใจที่เข้มแข็งและปัญญา ช่วยให้เราสามารถรับมือกับความเครียดและอุปสรรคในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อิทธิบาท 4 เป็นแนวทางแห่งการปฏิบัติที่สำคัญและมีประโยชน์มากมายทั้งในด้านการพัฒนาจิตใจและการดำเนินชีวิตประจำวัน การฝึกฝนอิทธิบาท 4 อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาจิตใจและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จ
การเจริญอิทธิบาท 4 ในชีวิตประจำวัน
การเจริญอิทธิบาท 4 ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการนั่งสมาธิเท่านั้น เราสามารถนำหลักธรรมนี้มาปรับใช้ได้ในทุกๆ ด้านของชีวิต เช่น
- เมื่อเรากำลังเรียนหนังสือ เราสามารถเจริญฉันทะด้วยการตั้งใจเรียนและไม่เกียจคร้าน
- เมื่อเรากำลังทำงาน เราสามารถเจริญวิริยะด้วยการทุ่มเทแรงกายแรงใจและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค
- เมื่อเรากำลังสื่อสารกับผู้อื่น เราสามารถเจริญจิตตะด้วยการฟังอย่างตั้งใจและไม่เหม่อลอยไปกับความคิดอื่น
- เมื่อเรากำลังตัดสินใจเรื่องต่างๆ เราสามารถเจริญปัญญาด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบและไม่ตัดสินใจด้วยอารมณ์
ประโยชน์ของการเจริญอิทธิบาท 4
การเจริญอิทธิบาท 4 อย่างสม่ำเสมอจะนำมาซึ่งประโยชน์มากมายทั้งในด้านการพัฒนาจิตใจและการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนี้
- ช่วยให้จิตใจสงบ มีสมาธิ และไม่ฟุ้งซ่าน
- เพิ่มความเพียรพยายามและความรับผิดชอบ
- เสริมสร้างปัญญาและการตัดสินใจอย่างถูกต้อง
- เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการเรียน
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
- รับมือกับความเครียดและอุปสรรคได้ดีขึ้น
- นำพาไปสู่ความสุขที่แท้จริงและการหลุดพ้นจากความทุกข์
การเจริญอิทธิบาท 4 เป็นแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับทุกคน การนำหลักธรรมนี้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันจะช่วยให้เราพัฒนาจิตใจ ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จในทุกด้าน
คำถามที่พบบ่อยในอิทธิบาท 4
ถาม: จะเริ่มต้นปฏิบัติอิทธิบาท 4 ได้อย่างไร?
การปฏิบัติอิทธิบาท 4 สามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันของเราเอง ดังนี้:
- ฉันทะ: เมื่อเราตั้งใจจะทำอะไร ควรตั้งใจให้แน่วแน่ ไม่ลังเลหรือเปลี่ยนใจง่าย ๆ
- วิริยะ: เมื่อเราเริ่มต้นทำอะไรแล้ว ควรพยายามอย่างสุดความสามารถจนเสร็จสิ้น
- จิตตะ: เมื่อเราทำกิจกรรมใด ๆ ควรฝึกให้จิตใจจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ไม่เผลอไปคิดเรื่องอื่น
- วิมังสา: ควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับธรรมะเพื่อเสริมสร้างปัญญาของเรา
ถาม: จะทราบได้อย่างไรว่าเราปฏิบัติอิทธิบาท 4 ได้ถูกต้อง?
เมื่อเราปฏิบัติอิทธิบาท 4 ได้ถูกต้อง เราจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีในตัวเราเอง เช่น:
- มีจิตใจที่สงบสุข เบิกบาน ไม่หงุดหงิดง่าย
- มีความขยันหมั่นเพียรในการทำงาน
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
- มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
บทสรุป
เมื่อพุทธศาสนิกชนเข้าใจถึงหลักการของอิทธิบาท 4 และเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าอิทธิบาท 4 คืออะไร และมีประการอะไรบ้าง ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจหลักอิทธิบาท 4 ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ทางเว็บติวฟรีก็อยากจะให้ท่านมีปัญญาและคิด วิเคราะห์ แยกแยะให้ออกและมองให้ถ่องแท้ถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ถ้าหากท่านมีคอมเมนต์อะไรก็สามารถเม้นบอกไว้ได้ข้างใต้นี้เลยนะครับ
หลักธรรมของศาสนาพุทธที่ควรทราบ
ธรรมะในชีวิตประจำวัน
การนำหลักธรรมคำสอนมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ถือเป็นบุญอย่างหนึ่งของชาวพุทธ หลักการธรรมะที่เราเรียนรู้ ไม่เพียงช่วยให้เรามีสมาธิและความสงบในใจ แต่ยังช่วยให้เราทำความเข้าใจเรื่องราวของชีวิต และวิธีการรับมือกับความทุกข์ทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ มาดูกันว่าเราสามารถนำหลักธรรมะข้อใดมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันกันบ้าง
- อริยสัจ 4 ในชีวิตประจำวัน
- สังคหวัตถุ 4 ในชีวิตประจำวัน
- พรหมวิหาร 4 ในชีวิตประจำวัน
- อิทธิบาท 4 ในชีวิตประจำวัน
- โลกธรรม 8 ในชีวิตประจำวัน
- มรรค 8 ในชีวิตประจำวัน
- ทิศ 6 ในชีวิตประจำวัน
ที่มา
- พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). “พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์”.
- พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). “พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม”.
- หนังสือ ศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี หรือ ธรรมวิภาค นวกภูมิ
- คำบรรยายธรรมะ ของ พุทธทาสภิกขุ ในพรรษา ปีพุทธศักราช 2500
สิริมา นกแก้วทอง says
เห็นแล้วยิ้มเลยค่ะ รายละเอียดดีมากๆ
พระธรรมปิฎก says
อิทธิบาท หรือ อิทธิบาท 4 เป็นศัพท์ในพระพุทธศาสนา หมายถึง ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จ หรือ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณเครื่องสำเร็จสมประสงค์ ทางแห่งความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย มี ๔ ประการ คือ
– ฉันทะ (ความพอใจ) คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป
– วิริยะ (ความเพียร) คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย
– จิตตะ (ความคิด) คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป
– วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น
Borin says
การฝึกธรรมะช่วยให้ฉันรู้จักคุณค่าของความสงบ
Sittichai says
ขอบคุณที่สอนเราความสำคัญของความอดทน
รัตนชนก says
ขอบคุณสำหรับคำสอนเรื่องความตั้งใจ
สรัล says
ผมพึงพอใจมากที่ได้อ่านบทความนี้เรื่องธรรมะ
Phitsanu says
ดีเว่อร์
ปุ๊ก says
ผมได้เรียนรู้หลักสูตรธรรมะจากอาจารย์ธรรมะ
Monkey D. Luffy says
ขอบคุณค่ะให้ความยินดีค่ะ
บุรินทร์ says
ขอบคุณมากที่ให้เราได้ฟังธรรมะใหม่
Nami says
ดีมากจริงๆ
Phawika says
รวยด้วยครับ!