ทิศ 6 หมายถึง หน่วยของสังคมรอบตัวเรา ซึ่งประกอบด้วยทิศหน้า หลัง ซ้าย ขวา บน และล่าง ที่เป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวันของเรา เว็ปติวฟรี ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทิศ 6 และสรุปความหมายของแต่ละทิศเพื่อให้คุณเข้าใจเบื้องต้นได้อย่างชัดเจน จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณในการเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับโลกรอบตัวคุณได้อย่างเต็มที่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสพระธรรมเทศนาเรื่องทิศ 6 เอาไว้ใน สิงคาลกสูตร ในพรรษาที่ 16 แล้วใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จนกระทั่งครอบคลุมไปทั่วแผ่นดินชมพูทวีปในเวลาต่อมา
ทิศ 6 คือหน่วยของสังคมรอบตัวเรา
ทิศ 6 คือ หน่วยของสังคมที่เล็กที่สุด สำคัญที่สุด ทรงอานุภาพที่สุด หากบุคคลใน แต่ละทิศปฏิบัติตนตามหน้าที่ ซึ่งมีอยู่ประจำทิศได้สมบูรณ์จริงๆ แล้ว ย่อมสามารถที่จะฉุดสังคมส่วนใหญ่ ให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม ได้อย่างชนิดฉับพลัน
ทิศทั้ง 6 ของใครก็ประกอบด้วยตัวของคนนั้น เองเป็นแกนกลาง แล้วแวดล้อมด้วยบุคคล อีก 6 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มล้วนมีความสัมพันธ์กับตัวของเขา ตามฐานะและหน้าที่ที่แตกต่างกันไป คือ
ปุรัตถิมทิส | ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา |
ทักขิณทิส | ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูบาอาจารย์ |
ปัจฉิมทิส | ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ ภรรยาหรือสามี |
อุตตรทิส | ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย |
เหฏฐิมทิส | ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ คนรับใช้ ลูกน้อง |
อุปริมทิส | ทิศเบื้องบน ได้แก่ สมณชีพราหมณ์ทั้งหลาย |
1.ปุรัตถิมทิส
ปุรัตถิมทิส แปลว่า ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา คุณพ่อคุณแม่เป็นผู้มีอุปการคุณคนแรก ของเรา เพราะว่าท่านก้าวเข้ามารับผิดชอบต่อชีวิตของเราก่อนใครๆ ในโลก และทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นชีวิต เลือดเนื้อ รวมทั้งความเป็นคน เราได้มาจากท่านทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงจัดให้ท่านทั้งสองมาอยู่ข้างหน้า เป็นทิศเบื้องหน้าของเรา
บิดามารดาอนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้
- ห้ามปรามจากความชั่ว
- ให้ตั้งอยู่ในความด
- ให้ศึกษาศิลปวิทยา
- หาคู่ครองที่สมควรให้
- มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันสมควร
บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดา ดังนี้
- ท่านเลี้ยงเรามาแล้วเลี้ยงท่านตอบ
- ช่วยทำกิจของท่าน
- ดำรงวงศ์สกุล
- ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
- เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศให้ท่าน
2.ทักขิณทิส
ทักขิณทิส แปลว่า ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์เป็นบุคคลสำคัญกับชีวิต ของเราอีกท่านหนึ่ง เพราะท่านสอนเราตั้งแต่ ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ให้รู้จักการ รักษาเนื้อรักษาตัวให้พ้นจากภัยอันตรายต่างๆ ตลอดจนสอนให้รู้จักการทำมาหากิน ท่านจึงเป็นทักขิไณยบุคคล คือบุคคลที่พวกเราต้องเคารพกราบไหว้บูชา
ครูอาจารย์อนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้
- ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี
- สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
- สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
- ยกย่องให้ปรากฏในหมู่เพื่อน
- สร้างเครื่องคุ้มกันภัยในสารทิศคือ สอนให้ศิษย์ปฏิบัติได้จริง นำวิชาไปเลี้ยงชีพทำการงานได้
ศิษย์พึงบำรุงครูอาจารย์ ดังนี้
- ลุกต้อนรับแสดงความเคารพ
- เข้าไปหา
- ใฝ่ใจเรียน
- ปรนนิบัติ
- เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ
3.ปัจฉิมทิส
ปัจฉิมทิส แปลว่า ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ ภรรยาหรือสามี ถ้าตรงกลางเป็นผู้ชายทิศเบื้องหลังก็เป็นภรรยา ถ้าตรงกลางเป็นผู้หญิงทิศเบื้องหลังก็เป็นสามี แต่ถ้าตรงกลางเป็นเด็ก หรือเป็นผู้ที่ยังไม่ได้แต่งงาน ทิศเบื้องหลังก็ไม่มี ไม่มีก็ไม่ต้องมี อยู่คนเดียวอย่างนี้แหละดีแล้ว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำภรรยาหรือสามีมาไว้ข้างหลัง เพราะไม่ว่าจะเป็นสามีหรือภรรยา ซึ่งบางทีก็ก่อบุตรขึ้นมาอีก ล้วนถือว่าเป็นกำลังเสริม เป็นผู้ติดตาม คอยสนับสนุนช่วยเหลืออยู่ข้างหลังทั้งสิ้น เนื่องจากเรื่องบางเรื่องไม่สามารถทำแทนกันได้
สามีพึงบำรุงภรรยา ดังนี้
- ยกย่องสมฐานะภรรยา
- ไม่ดูหมิ่น
- ไม่นอกใจ
- มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้านให้
- หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญ ตามโอกาส
ภรรยาอนุเคราะห์สามี ดังนี้
- จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
- สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
- ไม่นอกใจ
- รักษาสมบัติที่หามาได้
- ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง
4.อุตตรทิส
อุตตรทิส แปลว่า ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย มิตรสหายที่คบค้าสมาคมกันมาตั้งแต่เด็กจนโตนี่เอง ที่เป็นผู้คอยช่วยเหลือให้เราข้ามพ้นอุปสรรคและภัยอันตรายต่างๆ ในเวลาเดียวกันก็ยังเป็นกำลังสนับสนุน ให้เราสามารถบรรลุความสำเร็จอีกด้วย
ทิศเบื้องซ้ายนี้เอาจริงๆ เข้ากลับกลายเป็นทิศที่ใหญ่ที่สุด เพราะตลอดชีวิตของคนเราต้องเกี่ยวข้องคบหากับผู้คนมากมาย เพราะฉะนั้น ใครมีทิศเบื้องซ้ายน้อยก็จะเข้าตำรา “นกไม่มีขน คนไม่มีเพื่อน” บินก็ไม่ขึ้น โตก็ไม่ได้ เตรียมจะเป็นนกปิ้ง เตรียมจะเป็นนกย่าง กำลังเตรียมตัวตายเสียแล้ว
ถ้าใครสำรวจตรวจสอบดูแล้วพบว่า ตัวเอง มีเพื่อนน้อยละก็ รีบกลับไปแก้ไขเสีย ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวจะเดือดร้อน
พึงบำรุงมิตรสหาย ดังนี้
- เผื่อแผ่แบ่งปัน
- พูดจามีน้ำใจ
- ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
- มีตนเสมอร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย
- ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน
มิตรสหายอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้
- เมื่อเพื่อนประมาทช่วยรักษาป้องกัน
- เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
- ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
- ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
- นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร
5.เหฏฐิมทิส
เหฏฐิมทิส แปลว่า ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ คนรับใช้ ลูกน้อง และนายจ้าง ใครมีลูกน้องมากๆ ก็เบาแรงกาย คือไม่ต้องทำงานหนัก ไม่หนักแรงกายจนเกินไป แต่ว่าอาจจะหนักแรงใจบ้างถ้าฝึกเขาไม่เป็น ซึ่งก็โทษใครไม่ได้นอกจากโทษตัวเราเอง
แล้วก็รู้ไว้ด้วยว่าทิศเบื้องล่างนี้เอง ที่คอยเป็นฐาน เป็นกำลัง เป็นที่มาแห่งทรัพย์สินเงินทอง สำหรับเอามาใช้เป็นกองเสบียง ในการหล่อเลี้ยงชีวิตของเรา และแน่นอน เราจะมีทรัพย์มาใช้ในการสร้างบุญสร้างบารมีได้มากน้อยเท่าไร ก็มาจากทิศเบื้องล่าง เพราะฉะนั้นอย่าได้มองข้ามทิศเบื้องล่างกันทีเดียว
นายจ้างพึงบำรุงลูกจ้าง ดังนี้
- จัดการงานให้ทำตามกำลังความสามารถ
- ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและ ความเป็นอยู่
- จัดสวัสดิการดีมีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น
- ได้ของแปลกๆ พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
- ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาส อันควร
ลูกจ้างอนุเคราะห์นายจ้าง ดังนี้
- เริ่มทำงานก่อน
- เลิกงานทีหลัง
- เอาแต่ของที่นายให้
- ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
- นำความดีของนายไปเผยแพร่
6.อุปริมทิส
อุปริมทิส แปลว่า ทิศเบื้องบน ได้แก่ สมณชีพราหมณ์ทั้งหลาย เราชาวพุทธก็มีพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจ เพราะท่านเป็นผู้ที่สูงด้วยคุณธรรม อีกทั้งยังเป็นผู้ชี้ทิศ และเป็นแหล่งผลิตศีลธรรมอีกด้วย
คฤหัสถ์พึงบำรุงพระสงฆ์ ดังนี้
- จะทำสิ่งใดก็ทำด้วยเมตตา
- จะพูดสิ่งใดก็พูดด้วยเมตตา
- จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
- ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
- อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔
พระสงฆ์อนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้
- ห้ามปรามจากความชั่ว
- ให้ตั้งอยู่ในความดี
- อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
- ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
- ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง
- บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขความเจริญ
ความสำคัญของทิศ 6
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดให้ พระสงฆ์ เป็นทิศเบื้องบน เพื่อเป็นแหล่งผลิตศีลธรรม แล้วป้อนศีลธรรมนั้นให้กับอีก ๕ ทิศที่เหลือ โดยเฉพาะ ๒ ทิศที่สำคัญ คือ ทิศเบื้องหน้ากับทิศเบื้องขวา เพื่อให้ทิศทั้ง ๒ นี้ นำศีลธรรมที่ได้มาป้อนให้กับบุคคลที่อยู่ตรงกลาง
ส่วนพระสงฆ์เองเมื่อมีโอกาส ท่านก็จะลงมาป้อนศีลธรรมให้กับบุคคลที่อยู่ตรงกลางด้วยตัวของท่านเช่นกัน บ้าน วัด โรงเรียน จึงเป็นแหล่งปลูกฝังศีลธรรมเบื้องต้น ที่สำคัญที่สุดของพวกเราแต่ละคน
สำหรับบุคคลในทิศที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องล่าง หรือแม้แต่ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวาของเราต่างก็มี บ้าน วัด โรงเรียนของเขา เป็นแหล่ง ปลูกฝังศีลธรรมให้เช่นกัน
เมื่อหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม ต่างก็มีแหล่งผลิตและปลูกฝังศีลธรรมให้อย่างนี้ เมื่อครอบครัวใด หมู่บ้านใด ตลอดจนกระทั่งสังคมใด เกิดปัญหาขึ้นมา จึงสามารถแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุได้ด้วยตนเองในทันที เพราะฉะนั้น ครั้งใดที่ประสบความสำเร็จ ได้รับชัยชนะ ได้รับโชค ได้รับคำยกย่องสรรเสริญ หรือว่าได้รับเกียรติยศอะไรขึ้นมาก็ตาม ถ้าเป็นชาวพุทธที่ได้ฝึกตัวมาดีแล้ว เขาจะนึกขอบพระคุณ ไล่กันไปตามทิศทีเดียว
ตั้งแต่ หลวงปู่ หลวงพ่อ คุณพ่อ คุณแม่ ครูบาอาจารย์ ที่ท่านอบรมเคี่ยวเข็ญเรามา ตอนนี้ท่านอยู่ทิศไหนหนอ แล้วก็หันหน้าไปทางทิศนั้นกราบขอบพระคุณท่านงามๆ รวมทั้งมิตรสหาย สามี ภรรยา ผู้บังคับบัญชา และลูกน้อง ที่คอยสนับสนุนให้เราประสบความสำเร็จด้วย อย่างนี้ถึงจะเป็นชาวพุทธตัวจริง เป็น นักปฏิบัติธรรมตัวจริง ถ้าใครทำได้อย่างนี้จะมีความเจริญไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่าเมื่อขึ้นแล้วไม่มีลง ไม่ทราบที่นั่งกันอยู่นี่ ใครเคยคิด เคยทำอย่าง นี้บ้าง ถ้าเคยทำหลวงพ่อก็โมทนาด้วย ถ้ายังไม่เคยทำ ต่อแต่นี้รีบไปทำกันเสียเถอะนะ
หลักธรรมของศาสนาพุทธที่ควรทราบ
ธรรมะในชีวิตประจำวัน
การนำหลักธรรมคำสอนมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ถือเป็นบุญอย่างหนึ่งของชาวพุทธ หลักการธรรมะที่เราเรียนรู้ ไม่เพียงช่วยให้เรามีสมาธิและความสงบในใจ แต่ยังช่วยให้เราทำความเข้าใจเรื่องราวของชีวิต และวิธีการรับมือกับความทุกข์ทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ มาดูกันว่าเราสามารถนำหลักธรรมะข้อใดมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันกันบ้าง
- อริยสัจ 4 ในชีวิตประจำวัน
- สังคหวัตถุ 4 ในชีวิตประจำวัน
- พรหมวิหาร 4 ในชีวิตประจำวัน
- อิทธิบาท 4 ในชีวิตประจำวัน
- โลกธรรม 8 ในชีวิตประจำวัน
- มรรค 8 ในชีวิตประจำวัน
- ทิศ 6 ในชีวิตประจำวัน
ที่มา
Pat Junjira says
สวัสดีค่ะ
Mr.Narith Yodwicha says
รายละเอียดทิศ 5 และ ทิศ 6 สลับกันครับ
นายติวฟรี says
แก้ไขเรียบร้อยแล้ว ขอบคุณมากครับที่แจ้ง
นายฐากฤศ พิมละมาศ says
หากได้พิมพ์เป็นแบบเรียนเพิ่มเติม ในหลักคำสอนของพุทธศาสนา จะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ให้ได้เรียนในประถมปลายและมัธยมต้นจะดีมากๆ เพราะทุกวันนี้ เด็กและเยาวชนขาดความสนใจในวิชาศิลธรรมกันมาก จึงควรที่ครูควรอธิบายให้เข้าใจ.. ให้มากยิ่งขึ้น
LINDA J PRIDANONDA says
ขอแนะนำว่า การสะกด ทิศ6 ถ้าหมายถึง บุคคล ควรสะกดด้วย ส เป็น ทิส 6 ค่ะ/ครับ
PandaGamerPro says
ทรูมากค่ะ
Sukit says
ขอบคุณที่สอนเราความสำคัญของการเติบโตทางจิตใจ
ITZY says
คุณครูทำให้เราสนุกค่ะ
ชลลดา says
ธรรมะเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการพัฒนาศักดิ์สิทธิ์
Janthima says
ขอบคุณครูค่ะ!
Pukky Tida says
ขอบคุณครับเป็นท่านค่ะ
ปุ๊ก says
การอ่านหนังสือทางธรรมะเป็นวิธีหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้จากธรรมะ
Koga says
สุดยอดมากมาก
นาครณ says
ธรรมะทำให้ฉันมีความสุขในความเรียนรู้และการปฏิบัติ
วสุ says
ขอบคุณที่เตือนให้เรารักตัวเอง
สิทธิพล says
บทความนี้มีข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับการศึกษาธรรมะ
รัตนชนก says
ความรู้ในธรรมะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด