รัฐธรรมนูญ ปีพุทธศักราช 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 2549–2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กรุงเทพมหานคร มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก หน้า 1 ในวันเดียวกันนั้น และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
เรียบเรียงข้อมูลโดย ติวฟรี.คอม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว ได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ และจัดให้มีการลงประชามติเพื่อขอความเห็นชอบ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอบ ประธาน สนช. จึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย
เนื่องจากความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงดำเนินไปบนความร้อนแรงทางการเมือง มีการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ กับทั้งมีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับขั้นตอนการร่าง เช่น ประชาชนไม่มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง และคมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. รวมถึงเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของร่าง เช่น ให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่มาจากการแต่งตั้ง และให้นิรโทษกรรม คมช. เองที่ก่อรัฐประหาร
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ประเด็นที่แก้ไข คือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และหลักเกณฑ์ในการทำสนธิสัญญา (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)
วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติให้รัฐธรรมนูญนี้สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์[1] และสิ้นสุดลงทุกมาตราเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้ร่าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หมวด ๑
บททั่วไป
หมวด ๒
พระมหากษัตริย์
หมวด ๓
สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
ส่วนที่ ๒
ความเสมอภาค
ส่วนที่ ๓
สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
ส่วนที่ ๔
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
ส่วนที่ ๕
สิทธิในทรัพย์สิน
ส่วนที่ ๖
สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
ส่วนที่ ๗
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน
ส่วนที่ ๘
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
ส่วนที่ ๙
สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ
ส่วนที่ ๑๐
สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน
ส่วนที่ ๑๑
เสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม
ส่วนที่ ๑๒
สิทธิชุมชน
ส่วนที่ ๑๓
สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
หมวด ๔
หน้าที่ของชนชาวไทย
หมวด ๕
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
ส่วนที่ ๒
แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ
ส่วนที่ ๓
แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
ส่วนที่ ๔
แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
ส่วนที่ ๕
แนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม
ส่วนที่ ๖
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
ส่วนที่ ๘
แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ส่วนที่ ๙
แนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา และพลังงาน
ส่วนที่ ๑๐
แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
หมวด ๖
รัฐสภา
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
ส่วนที่ ๒
สภาผู้แทนราษฎร
ส่วนที่ ๓
วุฒิสภา
ส่วนที่ ๔
บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง
ส่วนที่ ๕
การประชุมร่วมกันของรัฐสภา
ส่วนที่ ๖
การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ ๗
การตราพระราชบัญญัติ
ส่วนที่ ๘
การควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ ๙
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
หมวด ๗
การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน
หมวด ๘
การเงิน การคลัง และงบประมาณ
หมวด ๙
คณะรัฐมนตรี
หมวด ๑๐
ศาล
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
ส่วนที่ ๒
ศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ ๓
ศาลยุติธรรม
ส่วนที่ ๔
ศาลปกครอง
ส่วนที่ ๕
ศาลทหาร
หมวด ๑๑
องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ ๑
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ ๒
องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
หมวด ๑๒
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ส่วนที่ ๑
การตรวจสอบทรัพย์สิน
ส่วนที่ ๒
การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์
ส่วนที่ ๓
การถอดถอนจากตำแหน่ง
ส่วนที่ ๔
การดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
หมวด ๑๓
จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หมวด ๑๔
การปกครองส่วนท้องถิ่น
หมวด ๑๕
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
บทเฉพาะกาล
ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “รัฐธรรมนูญ ปีพุทธศักราช 2550”